homeaboutusprojectnewsdata


english

 
 
   

   
 
 

ชาวมะลุ่ยเลี้ยงน้ำชาระดมทุนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ

เสียงใต้  20 เมษายน พ.ศ.2555

ชาวบ้านมะรุ่ย เลี้ยงน้ำชาระดมทุนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติเรียกร้องหน่วยงานรู้จริงให้ความรู้

 เมื่อวันที่ 19 เม.ย. นี้  ผู้สื่อข่าวรายงานมาจากจังหวัดพังงา ว่าชาวบ้าน ม. 3 บ้านท่าสนุก ต.มะรุ่ย อ.ทับปุด จ.พังงา ได้ร่วมกันปิดร้านน้ำชา และ ไปร่วมตัวกันที่บ้านท่าสนุกจัดเลี้ยงน้ำชาเพื่อระดมทุนในการพัฒนาหมู่บ้านและเตีรยมความพร้อมเพื่อรับภัยพิบัติโดยได้เชิญนายภูสิทธิ์  ไชยทอง นายอำเภอทับปุด นายสมเกียรติ  อินทรธรรม หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดพังงา ไปร่วมงานโดยมีนายบำรุง  ผลทวี นายก อบต.มะรุ่ย และ นายอาหมีด  คำการ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 เป็นผู้เล่าเรื่องและบรรยายเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนทั้งหมู่บ้าน ประมาณ 200 คน ฟัง หลังจากนั้น นายสมเกียรติ ได้มอบเครื่องเตือนภัยแก่ประชาชนในหมู่บ้าน

        นายอาหมีด  กล่าวว่า พื้นที่บ้านท่าสนุกอยู่ในเขตรอยเลื่อนมะรุ่ย และที่ผ่านมามีเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาแล้ว หลายครั้งแต่ละครั้งก็พูดถึงพื้นที่รอยเลื่อนมะรุ่ย เช่น ในปี พ.ศ 2476 ปี พ.ศ.2519 ปี พ.ศ. 2542 แ ละ ในครั้งนี้  ซึ่งในพื้นที่บ้านท่าสนุกมีพลังจากใต้พื้นดินคือมีหาดร้อนซึ่งเป็นโคลนปนทรายที่มีอุณหภูมิสูงกล่าวพื้นที่อื่นๆ มีสภาพหาดโคลนมีความร้อนและหาดร้อนจะเกิดขึ้นหลังจากน้ำลด แต่เมื่อน้ำทะเลขึ้นจะท่วมหาดและมองไม่เห็น

 “ความเป็นจริงพื้นที่นี้น่าสนใจในเชิงการท่องเที่ยวและการศึกษาทั้งระบบนิเวศน์และเชิงภูมิศาสตร์เป็นอย่างมากปัจจุบันคงมีแต่หน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชนที่สนใจให้ความสำคัญและให้ความรู้ชาวบ้านแต่ยังไม่มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรณีมาดูแลให้ความรู้กับชาวบ้านแต่อย่างใด

         นายสนธยา  คำน้ำปาน อายุ 38 ประชาชนในหมู่บ้านท่าสนุก ต.มะลุ่ย ที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน  กล่าวว่าตั้งแต่เกิดแผนดินไหวในพื้นที่จังหกวัดภูเก็ตและมีข่าวเรื่องรอยเลื่อนมะรุ่ย  ชาวบ้านที่เป็นชาวประมงพื้นบ้าน ไม่กล้าออกทะเลทำการประมง ส่งผลกระทบต่อการทำมากินและวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้านท่าสนุก  และไม่มีหน่วยงานที่รู้เรื่องจริงมาให้ความรู้จริงจังกับชาวบ้าน ซึ่งพื้นที่บ้านท่าสนุกเป็นพื้นที่อ่าวพังงา ตอนในที่ห่างไกลข้อมูลข่าวสาร

 “ชาวบ้านต้องการให้หน่วยงานที่รู้จริงเมื่อเกิดภัยแผนดินไหวมาให้ความรู้กับชาวบ้านเพื่อชาวบ้านจะได้รู้ทางหนีที่ไล่เพื่อการป้องกันและตัวแลกันเองในเบื้องต้นหากเกิดเหตุภัยพิบัติ” 

 
 
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) 24/28 หมู่ 1 ถนนศักดิเดช  ต.วิชิต อ. เมือง จ.ภูเก็ต 83000  
โทรศัพท์/โทรสาร 076-393458    Email: