homeaboutusprojectnewsdata


english

 
 
   

   
 
 
 

คำถามที่เกิดขึ้นจากชาวย่าหมี

  1. การขุดลอกทรายในปริมาณ  650,000  ลบม.ลึก 3เมตร 
  2. การสร้างสะพาน คสล.ในทะเล
  3. การทำเขื่อนกันคลื่น  ยาว 340 เมตร
  4. ทำพอนทูนจอดเรือ  85 ลำ
  5. วางทุ่นหน้าอ่าว  10  ทุ่น

ตอบคำถามที่ต้องการ

1.  การขุดลอกทรายในปริมาณ  650,000  ลบม.ลึก 3เมตร

ตอบ   การขุดลอก เพื่อการสร้างสะพาน ไม่น่าจะมีความจำเป็น  ถ้าต้องการสร้างจริงๆ ใช้การเจาะเพื่อฝังเสาเข็มได้จะไม่รบกวนธรรมชาติมากนัก เข้าใจว่าการขุดลอก คงทำเพื่อให้ข้างสะพานลึกเพื่อจอดเรือได้   การขุดทรายปริมาณมาก จะทำให้สมดุลเดิมเปลี่ยนไปมาก ธรรมชาติจะเกลี่ยเอาทรายที่อื่นมาทับถม ณ จุดที่ขุดแทน ซึ่งอาจส่งผลให้บางแห่งที่อ่อนแอถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็ว  นอกจากนี้การขุดลึกมาก ทรายจะมาถมให้ตื้นในเวลาอันรวดเร็ว  ซึ่งก็คงใช้ประโยชน์ได้ชั่วคราวเท่านั้นการออกแบบตอม่อสะพาน ที่กีดขวางคลื่นและกระแสน้ำ จะก่อให้เกิดการทับถมและกัดเซาะด้านท้ายน้ำที่กระทบต่อนิเวศชายฝั่งได้  โดยเฉพาะแหล่งของหญ้าทะเลและสัตว์หน้าดินอาจถูกทับถม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทิศทางของคลื่นในแต่ละฤดู

3.  การทำเขื่อนกันคลื่น  ยาว 340 เมตร

ตอบ    เขื่อนกันคลื่นเป็นโครงสร้างทึบที่แปลกปลอมกับธรรมชาติ อันจะก่อให้เกิดการกัดเซาะรุนแรงด้านหน้า และด้านข้างของเขื่อน ขณะที่ด้านหลังจะเกิดการทับถมอย่างรวดเร็ว นั่นคือเร่งให้บริเวณสะพานตื้นเร็วขึ้นอีก  นอกจากนี้ด้านข้างที่ถูกกัดเซาะจะรุกรามอย่างรวดเร็วไปสู่บริเวณอื่นๆ ทำให้เกิดเป็นรูปโค้งขนาดใหญ่ที่กัดเซาะชายฝั่งรุนแรง นิเวศทั้งอ่าวจะเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  

4.  ทำพอนทูนจอดเรือ  85 ลำ

ตอบ   ถ้าโครงสร้างนี้ลอยขึ้น-ลงตามน้ำก็คงไม่มีผลกระทบรุนแรง แต่ถ้าวางในที่ค่อนข้างตื้นและมีกระแสน้ำแรงก็จะเกิดความปั่นป่วนอย่างรุนแรงทั้งด้านล่างและ ด้านท้ายของมันตามทิศทางกระแสน้ำจะทำให้น้ำขุ่นและเกิดการกัดเซาะได้เช่นกัน

5.  วางทุ่นหน้าอ่าว  10  ทุ่น

ตอบ   คงไม่เป็นอะไรมากนักถ้าทุ่นขนาดเล็ก และวางไม่หนแน่น จะมีการกัดเซาะพื้นทะเลเล็กน้อยโดยรอบตัวทุ่นตามทิศทางกระแสน้ำ  โดยสรุป ท่าเทียบเรือถ้าออกแบบถูกหลักวิชา ตอม่อไม่กีดขวางคลื่นก็พอรับได้  การขุดทรายออกไปจำนวนมากและยิ่งนำไปไว้ที่อื่น  จะเร่งให้ชายฝั่ง  พังทลายอย่างรวดเร็ว จึงควรหลีกเลี่ยง  การทำเขื่อนกันคลื่นเป็นการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ที่จะนำพาความวิบัติมาสู่ระบบนิเวศชายฝั่งอย่างรวดเร็ว ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะทำเช่นนั้นส่วนการสร้างอื่นๆอาจมีผลกระทบ ซึ่งชาวบ้านที่ทำทะเลทุกวันคงจะใช้ภูมิปัญญาเสนอแนะเอง ได้เป็นอยู่อย่างเศรษฐกิจพอเพียง เท่านั้นที่ยั่งยืนที่สุดในอเมริกาการสร้างสิ่งกีดขวางในทะเล เป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่ถ้าจำเป็นจริงๆจะต้องมีการทำการทดลองให้ห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ ให้ประจักษ์ต่อทุกคนที่มีส่วนได้เสียก่อน จึงจะดำเนินการได้   ทางฝั่งอ่าวไทยขณะนี้ไม่มีชายหาดแล้วเพราะสร้างแต่เขื่อนกันคลื่น อย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเป็นอันขาด ให้เขานำผลการประเมินมาดูว่า ที่ใดในประเทศไทยทำแล้ว ชายฝั่งไม่เสียหายบ้าง

 
 
องค์การความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน (ARR) 24/28 หมู่ 1 ถนนศักดิเดช  ต.วิชิต อ. เมือง จ.ภูเก็ต 83000  
โทรศัพท์/โทรสาร 076-393458    Email: